วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอน วิธีการในการสืบค้น

ขั้นตอนและวิธีการสืบค้นความรู้


การแสวงหาความรู้ใหม่ ควรจะศึกษาฐานข้อมูลความรู้เดิมก่อน เพื่อไม่ให้การศึกษาค้นคว้าใดๆต้องเริ่มใหม่ทุกครั้งซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ความรู้ใหม่ที่ได้จะผนวกกับความรู้เดิม และเกิดปัญหาใหม่ ทำให้มีการวิจัยเพื่อตอบปัญหาต่อไปอีก วิธีการหรือกระบวนการแสวงหาความรู้ที่ยอมรับในทางวิชาการ เช่น วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์และการคาดคะเนหรือการหยั่งรู้
กระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นการใช้ความคิดและการกระทำเพื่อค้นหาประจักษ์พยาน หรือข้อมูลมาแปลความ ตีความ และสร้างคำอธิบาย จึงต้องมีการวางแผน การออกแบบสำรวจ การจัดสถานการณ์ การทดลอง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งมาจากการใช้ประจักษ์พยาน จากการสังเกต นำมาแปลความให้สอดคล้องกับสิ่งที่สังเกตได้ สรุปออกมาเป็นความรู้ที่นำเอามาใช้ประโยชน์ได้ ความรู้จากตำราเป็นความรู้ที่ได้มีการศึกษามาแล้ว ตำราจึงมีไว้ใช้เป็นฐานความรู้เดิม ที่จุดประกายความคิดที่จะค้นความรู้ต่อไป(สุนีย์ คล้ายนิล,2546:5)

ดังนั้นการคิดในสิ่งใหม่หรือความคิดใหม่ไม่ได้หมายถึงเพียงการประดิษฐ์สิ่งใหม่ในรูปแบบของเครื่องยนต์กลไก เท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการต่างๆ ที่ต่างไปจากเดิมเช่นมุมมองใหม่ๆ การจัดระเบียบสิ่งต่างๆ วิธีการใหม่ในการนำเสนอ รวมถึงการมีความคิดใหม่ๆด้วย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือลดต้นทุนขององค์กรได้


การสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆมีดังนี้


1 จากพันธมิตร คู่ค้า เราสามารถสอบถามข้อมูลจากพันธมิตรหรือคู่ค้าของเราที่เป็นพันธมิตรหรือคู่แข่งกับเราด้วย หากเป็นการหา How to เราสามารถพิจารณาจาก Supply Chain ได้ว่า องค์กรใดบ้างที่เราดำเนินธุรกิจด้วย โดยเฉพาะ Supplier ที่เราซื้อสินค้าหรือบริการจากเขา ซึ่งเขายินดีที่จะให้เราเข้าไปเรียนรู้ และเล่า Best Practices ให้เราได้ เช่น องค์กรที่ผู้เขียนเคยขอเข้าไปเสวนาด้วยทางด้านการพัฒนาองค์กรและการจัดการองคืความรู้ในองค์กร ได้แก่ Ericcson ,IBM , HP , KPMG , CISCO เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราสามารถเรียนรู้ความเป็นสากลในระดับโลกได้จากองค์กรที่เป็นพันธมิตรคู่ค้ากับเราได้

2 จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนา และนิทรรศการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอความรู้แนวทางใหม่ๆ การแลกเปลี่ยนความรู้และทิศทางในอนาคต นอกจากเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆแล้ว เรายังมีโอกาสที่ได้รู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ ได้ด้วย จากจุดนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การขอเข้าไปดูงาน และเสวนากันอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยน Best Practices ซึ่งกันและกันได้

3 หนังสือ เอกสารต่างๆ ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ นอกจากหนังสือคู่มือ ตำราต่างๆ แล้ว ก็ยังมีเอกสารทางวิชาการที่ทันสมัย เช่น วิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่างๆ

บทความภาษาอังกฤษ

http://books.google.co.th/books?id=vqnTceVAjsUC&printsec=frontcover&dq=A+leader%E2%80%99s+Guide+to+Knowledge+Management&hl=th&ei=60S2TaSPIc2rrAeh2IXSDQ&sa=X&oi=book_result&ct=book-thumbnail&resnum=1&ved=0CDoQ6wEwAA#v=onepage&q&f=false


อ้างอิงจาก
(1)
ผศ.ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน
การจัดการความรุ้กับคลังความรู้
Knowledge Management and Knowledge Center.
--กรุงเทพฯ:เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์,2547.137 หน้า

(2)
บดินทร์ วิจารณ์
การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ.- - กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน้น, 2547.262 หน้า
1. การจัดการองค์กร. 2 การบริหาร. I.ชื่อเรื่อง
658.1
ISBN 974-92555-2-6

(3)
Jhon P. Girard, (2009), A leader’s Guide to Knowledge Management : Drawing on the post to Enhance Future performance(45-53),New York: Minot state university

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น