วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังเพื่อนๆ Present วันอังคารที่ 26 เมษายน 2554

การสืบค้น หมายถึง การค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จุดมุ่งหมายของ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล จุดหลัก คือ ง่ายต่อการสืบค้น เมื่อเวลาต้องการนำข้อมูลมาใช้ ชุดคำสั่งสำหรับการจัดการฐานข้อมูลเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการค้นหา (Select) แก้ไข (Update) เพิ่มเติม (Insert) และการลบ (Delete)


ประเภทของ search engine

1. แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine)

หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กับ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN

2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)

Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือ Keyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่ แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้ หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็น ผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล

3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine )

Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots

Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่นยำ ตัวอย่างเว็บที่ใช้งานประเภทนี้ metacrawler.com

นอกจากนี้ได้รู้เกี่ยวกับิธีการ Search หาข้อมูลต่างๆหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหาข้อมูลทาง youtube , google doc, 4share,เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอน วิธีการในการสืบค้น

ขั้นตอนและวิธีการสืบค้นความรู้


การแสวงหาความรู้ใหม่ ควรจะศึกษาฐานข้อมูลความรู้เดิมก่อน เพื่อไม่ให้การศึกษาค้นคว้าใดๆต้องเริ่มใหม่ทุกครั้งซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ความรู้ใหม่ที่ได้จะผนวกกับความรู้เดิม และเกิดปัญหาใหม่ ทำให้มีการวิจัยเพื่อตอบปัญหาต่อไปอีก วิธีการหรือกระบวนการแสวงหาความรู้ที่ยอมรับในทางวิชาการ เช่น วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์และการคาดคะเนหรือการหยั่งรู้
กระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นการใช้ความคิดและการกระทำเพื่อค้นหาประจักษ์พยาน หรือข้อมูลมาแปลความ ตีความ และสร้างคำอธิบาย จึงต้องมีการวางแผน การออกแบบสำรวจ การจัดสถานการณ์ การทดลอง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งมาจากการใช้ประจักษ์พยาน จากการสังเกต นำมาแปลความให้สอดคล้องกับสิ่งที่สังเกตได้ สรุปออกมาเป็นความรู้ที่นำเอามาใช้ประโยชน์ได้ ความรู้จากตำราเป็นความรู้ที่ได้มีการศึกษามาแล้ว ตำราจึงมีไว้ใช้เป็นฐานความรู้เดิม ที่จุดประกายความคิดที่จะค้นความรู้ต่อไป(สุนีย์ คล้ายนิล,2546:5)

ดังนั้นการคิดในสิ่งใหม่หรือความคิดใหม่ไม่ได้หมายถึงเพียงการประดิษฐ์สิ่งใหม่ในรูปแบบของเครื่องยนต์กลไก เท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการต่างๆ ที่ต่างไปจากเดิมเช่นมุมมองใหม่ๆ การจัดระเบียบสิ่งต่างๆ วิธีการใหม่ในการนำเสนอ รวมถึงการมีความคิดใหม่ๆด้วย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือลดต้นทุนขององค์กรได้


การสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆมีดังนี้


1 จากพันธมิตร คู่ค้า เราสามารถสอบถามข้อมูลจากพันธมิตรหรือคู่ค้าของเราที่เป็นพันธมิตรหรือคู่แข่งกับเราด้วย หากเป็นการหา How to เราสามารถพิจารณาจาก Supply Chain ได้ว่า องค์กรใดบ้างที่เราดำเนินธุรกิจด้วย โดยเฉพาะ Supplier ที่เราซื้อสินค้าหรือบริการจากเขา ซึ่งเขายินดีที่จะให้เราเข้าไปเรียนรู้ และเล่า Best Practices ให้เราได้ เช่น องค์กรที่ผู้เขียนเคยขอเข้าไปเสวนาด้วยทางด้านการพัฒนาองค์กรและการจัดการองคืความรู้ในองค์กร ได้แก่ Ericcson ,IBM , HP , KPMG , CISCO เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราสามารถเรียนรู้ความเป็นสากลในระดับโลกได้จากองค์กรที่เป็นพันธมิตรคู่ค้ากับเราได้

2 จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนา และนิทรรศการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอความรู้แนวทางใหม่ๆ การแลกเปลี่ยนความรู้และทิศทางในอนาคต นอกจากเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆแล้ว เรายังมีโอกาสที่ได้รู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ ได้ด้วย จากจุดนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การขอเข้าไปดูงาน และเสวนากันอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยน Best Practices ซึ่งกันและกันได้

3 หนังสือ เอกสารต่างๆ ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ นอกจากหนังสือคู่มือ ตำราต่างๆ แล้ว ก็ยังมีเอกสารทางวิชาการที่ทันสมัย เช่น วิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่างๆ

บทความภาษาอังกฤษ

http://books.google.co.th/books?id=vqnTceVAjsUC&printsec=frontcover&dq=A+leader%E2%80%99s+Guide+to+Knowledge+Management&hl=th&ei=60S2TaSPIc2rrAeh2IXSDQ&sa=X&oi=book_result&ct=book-thumbnail&resnum=1&ved=0CDoQ6wEwAA#v=onepage&q&f=false


อ้างอิงจาก
(1)
ผศ.ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน
การจัดการความรุ้กับคลังความรู้
Knowledge Management and Knowledge Center.
--กรุงเทพฯ:เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์,2547.137 หน้า

(2)
บดินทร์ วิจารณ์
การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ.- - กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน้น, 2547.262 หน้า
1. การจัดการองค์กร. 2 การบริหาร. I.ชื่อเรื่อง
658.1
ISBN 974-92555-2-6

(3)
Jhon P. Girard, (2009), A leader’s Guide to Knowledge Management : Drawing on the post to Enhance Future performance(45-53),New York: Minot state university

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ
กลุ่มที่1 : บทบาทของการจัดการความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
นวัตกรรม คือ การรวมตัวกันของความรู้ทั่วไปเพื่อให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ๆขึ้นมา ปัจจุบันนวัตกรรมเริ่มมีบทบาทและมีความสำคัญมากในทุกด้านตั้งแต่หน่วยงานเล็กไปยังหน่วยงานใหญ่ๆ ซึ่งเราสามารถนำ การจัดการความรู้ มาเป็นโครงสร้าง โดยวิธีการในการจัดการความรู้คือ การจัดการสร้างความรู้ การใช้งานร่วมกันและใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถให้กับองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น
การจัดการความรู้จะเกิดขึ้นใน 3 ระดับคือ ระดับบุคคล ระดับทีม และระดับองค์กร โดยสามารถแก้ปัญหาได้แบบองค์รวมผสมผสานความหลากหลายมุมมองคือ มุมมองทางกระบวนการ มุมมองทางวัฒนธรรม และมุมมองทางเทคโนโลยี โดยทั้งหมดจะมีสัดส่วนที่เท่ากัน


กลุ่มที่ 2 : จัดการความรู้และนวัตกรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับนวัตกรรมเพื่อสร้างรูปแบบการทำงานที่จะช่วยองค์กรสร้างคุณภาพนวัตกรรมและการจัดการความรู้ในธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธภาพ การจัดการความรู้ถูกนำมาเป็นกิจกรรมที่ผ่านมาที่มีการ Harnessed เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในกระบวนการนวัตกรรมต่างๆ


กลุ่มที่ 3 : การสร้างระบบการจัดการความรู้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการฝึกอบรม
อย่างที่ทราบกันมาแล้วว่าการจัดการความรู้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากๆในปัจจุบัน ในฐานะที่เราเป็นผู้เรียนนั้นมันจะช่วยให้เราสามารถจัดการกับการเรียนได้ดีขึ้นอย่างมากโดย ใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล และเรียนรู้วิธีที่ง่ายต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาและการส่งต่อความรู้ที่เราได้มานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำเอาระบบการจัดการความรู้มาใช้ในการฝึกอบรมตัวบุคคลและระบบพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ เราควรที่จะออกแบบ เอาใจใส่เพื่อเป็นหลักการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด


กลุ่มที่ 4 : การสร้างคุณค่าผ่านรายได้ของลูกค้า
รูปแบบที่จะช่วยให้เงินทุนของลูกค้านั้นที่จะรวมอยู่ในทุนมนุษย์ของ บริษัท ในการออกไปฝึกที่ไม่ได้ตอนนี้ โดยความรู้ของ บริษัท ลูกค้าและการนี้จะเพิ่มศักยภาพสำหรับรายได้มากขึ้น บริษัท ที่ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านไอทีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถให้ บริการลูกค้าประจำสนใจกับโอกาสในการเข้าวงในของ บริษัท ที่มีความรู้และเสนอความคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดคำถามและคำตอบของแบบสอบถาม ให้กับลูกค้าอื่น ๆ ของบทนี้จะเรียกว่าลูกค้ารายได้จากการได้มา โดยบริษัท จำเป็นต่อการดำเนินการ CDRจะมีการอธิบายและกรณีศึกษาการใช้วิธีการที่คล้ายกันจะถูกนำเสนอในการยืมการ สนับสนุนสำหรับวิธีการใหม่นี้เพื่อทุนของลูกค้าที่จะนำมาใช้ในระดับที่กว้าง ขึ้นเพื่อดึงค่ามากขึ้นสำหรับ บริษัท

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

เครื่องมือการจัดการความรู้

เครื่องมือการจัดการความรู้
Knowledge Management Tools




ชุมชนแนวปฏิบัติ (Communities of Practice – CoP)
เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ มาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สําคัญ จะมีความแตกต่างจากการจัดตั้งทีมงานเนื่องจากเป็นการรวมกันอย่างสมัครใจ ควรมีการบันทึกสิ่งที่เรียนรู้ระหว่างกัน ให้แรงจูงใจหรือรางวัลสําหรับสมาชิกที่ให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นๆ ต่อไป รวมทั้งควรส่งเสริมให้ CoP มีการเติบโตและขยายตัว
ฐานความรู้ความสำเร็จ (Best Practices Databases)
การจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้มีการจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ทั้งในรูปแบบของความสำเร็จ ความล้มเหลวและข้อเสนอแนะในเรื่องที่สนใจ โครงการ หรือกลุ่มที่ปรึกษา ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรในช่วงยุคต้นๆ ของการจัดการความรู้ การที่มีศูนย์กลางความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้พนักงานทั้งองค์กรสามารถเข้ามาเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง หากเราสามารถดำเนินการได้ดี ฐานองค์ความรู้นี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
ฐานความรู้บทเรียน (Lessons Learned Databases)
เป็นการเก็บข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่องค์กรมีไว้ในระบบฐานข้อมูล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือระบบอื่นๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง ควรคํานึงถึงความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence – CoE)
เป็นการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence) หรือทราบว่าจะสามารถติดต่อสอบถามผู้รู้ได้ที่ไหน อย่างไร (Expertise Locators) จึงเป็นอะไรที่มากกว่ารายชื่อผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
การเล่าเรื่อง (Story Telling)
เรื่องราวที่บอกเล่าทำให้ผู้ฟังเข้าไปร่วมอยู่ในความคิด มีความรู้สึกเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่เล่า มีความต้องการที่จะหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราวและความคิดต่างๆ ในเรื่องที่เล่านั้นกลายเป็นของผู้ฟัง ผู้ฟังมิใช่เป็นเพียงผู้สังเกตภายนอกอีกต่อไป เป็นการให้ผู้ที่มีความรู้จากการปฏิบัติได้มาปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง (ความคิด) และในส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ) ออกมาเป็นคําพูดและหน้าตาท่าทาง (Non – Verbal Communication) การปลดปล่อยความรู้จากการปฏิบัตินี้ ผู้ปล่อยที่ได้รับการฝึกปฏิบัติจนมีความชํานาญแล้วจะสามารถปลดปล่อยความรู้ออกมาได้อย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ
ทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Reviews – AAR)
เป็นกิจกรรมที่ใช้ทบทวนหรือประเมินผลของกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ในแต่ละครั้งว่ามีจุดดีจุดด้อย รวมทั้งโอกาสและอุปสรรคอย่างไรในการทํา CoP เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการทํา CoP ในครั้งต่อไปให้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้เสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการทํา CoP ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มและเป้าหมายของสมาชิก
การใช้ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Monitoring Programs)
เป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัว เป็นวิธีการหนึ่งในการสอนงานและให้คําแนะนําอย่างใกล้ชิด นอกจากจะให้คําปรึกษาในด้านการงานแล้วยังเป็นที่ปรึกษาในเวลามีปัญหาหรือสับสน ที่สําคัญพี่เลี้ยงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องพฤติกรรม จริยธรรม และการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
การเสวนา (Dialogue)
เป็นการปรับฐานความคิด โดยการฟังจากผู้อื่นและความหลากหลายทางความคิดที่เกิดขึ้น ทำให้สมาชิกเห็นภาพที่ใกล้เคียงกัน หลังจากนั้นเราจึงจัดประชุมหรืออภิปรายเพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อยุติต่อไปได้โดยง่าย และผลหรือข้อยุติที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการที่เราเห็นภาพในองค์รวมเป็นที่ตั้ง
เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
เป็นการประชุมซึ่งเชิญสมาชิกจากทีมอื่น มาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจให้แก่ทีมซึ่งต้องการความช่วยเหลือ ผู้ที่ถูกเชิญมาอาจจะเป็นคนที่อยู่ในองค์กรอื่นก็ได้
เวที ถาม-ตอบ (Forum)
เป็นอีกหนึ่งเวทีในการที่เราสามารถโดยคำถามเข้าไป เพื่อให้ผู้รู้ที่อยู่ร่วมใน Forum ช่วยกันตอบคำถามหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นช่วยตอบ หากองค์กรมีการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP) หรือมีการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence-CoE) แล้วคำถามที่เกิดขึ้นสามารถส่ง/ยิงเข้าไปใน Forum ซึ่งอยู่ใน CoP หรือ CoE เพื่อหาคำตอบ ในลักษณะ “Pull Information”
อื่นๆ (Others)
• สมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) จะเหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่เราคุ้นเคยกัน
– แหล่งที่มาของความรู้ ประเภทของความรู้ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านขององค์กร รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่สําคัญๆ
– สร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนที่ต้องการใช้ข้อมูลกับแหล่งข้อมูลที่มี
• การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team)
– เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อมาทำงานร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
– การแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดความรู้ระหว่างทีม จะทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น
– หัวหน้าทีมควรมีการสร้างบรรยากาศที่ดี
– ควรมีการจดบันทึกหรือรวบรวมความรู้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันไว้ด้วย
• การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) และการยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน (Secondment)
– การสับเปลี่ยนงานเป็นการย้ายบุคลากรไปทำงานในหน่วยงานต่างๆ
– ซึ่งอาจอยู่ภายในสายงานเดียวกันหรือข้ามสายงานเป็นระยะๆ
– เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
– ผู้ถูกยืมตัวถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองให้หน่วยงาน
– ในขณะเดียวกันผู้ถูกยืมตัวก็ได้เรียนรู้จากบุคลากรในหน่วยงานอื่น ซึ่งสามารถนํามาพัฒนางานของตนเอง หรือสร้างความรู้ใหม่ๆ



อ้างอิง :

วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์. เครื่องมือการจัดการความรู้. [ออนไลน์], [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก: http://share.psu.ac.th/file/klangduen.p/56-KM+tools+slide.pdf. [4 เมษายน 2554]

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การศึกษาที่แท้

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การศึกษาที่แท้


ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)




ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาในโลกอยู่ตลอดเวลา เราเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “นวัตกรรม” นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษ โดยที่ในภาษาอังกฤษคำกริยาว่า innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิด คิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า


“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”


นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย “วิถีคิด” ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก “ร่อง” หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบหลังนี้จึงเป็นความรู้ชนิดที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา เป็นความรู้ที่มีบริบท (context-riched) ไม่ใช่ความรู้ที่อยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์หรืออิงอยู่กับบริบทใดๆ (contextless) การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อนโดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นหลัก เรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น การเรียนรู้ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบอุปสงค์ (demand-side learning) คือ มีความประสงค์ มีความต้องการที่จะทำอะไรบางอย่าง แล้วจึงเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบที่เราคุ้นเคยกันดีในระบบการศึกษา ที่มักจะเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียน คือจากผู้รู้ไปสู่ผู้เรียน คือมีลักษณะเป็นการเรียนรู้แบบอุปทาน (supply-side learning) ซึ่งข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูต้องคอยป้อน(ยัด) ความรู้เหล่านี้เข้าปาก(หัว) ผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยมักจะใช้การประเมิน การวัดผล หรือการสอบ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ “ผลัก” หรือ “ดัน” ให้คนหันมาสนใจตั้งใจเรียน การเรียนรู้แบบนี้ครูจึงมีหน้าที่หลักในการ “ผลัก” หรือ “push” ให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้เรียน “ฉุด” หรือ “ดึง” (pull) ตัวเองไปโดยใช้ความสนใจหรือความต้องการที่จะเรียนรู้เป็นตัวดึง ซึ่งก็คือแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเองโดยไม่ต้องให้ใครมาออกแรงผลัก ออกแรงดันดังเช่นที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้


การเรียนรู้ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้จะสร้างมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นองค์รวม (holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต จนอาจเข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นที่เห็นว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ตามคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาสเลยทีเดียว ในขณะที่กระบวนทัศน์เดิมจะมองงานด้วยสายตาที่คับแคบกว่ามาก คือมองเห็นงานว่าเป็นเรื่องของการทำมาหากินประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้เงินมาสำหรับจับจ่ายใช้สอยเพียงเท่านั้น ผู้ที่คิดเช่นนี้ มักจะเห็นงานว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เป็นสิ่งที่ต้องทนทำไป เพียงเพื่อให้ได้เงินมาจึงจะมีความสุข หลายคนถึงกับบ่นกับตัวเองว่า เมื่อไรจะถึงวันหยุด เมื่อไรจะถึงวันเสาร์-อาทิตย์ (สำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือรับราชการ) ซึ่งการคิดแบบนี้จะเห็นได้ทันทีว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ “ขาดทุน” ไปทุกๆสัปดาห์ เพราะสัปดาห์หนึ่งๆ จำต้องทนทุกข์ทรมานไป 5 วัน โดยที่รู้สึกสุขได้เพียงแค่ 2 วัน เรียกว่าต้องขาดทุนสะสมไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์ แต่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ที่มองเห็นงาน ปัญหา และชีวิตว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพร่ำสอนอยู่เสมอว่า “ความสุขที่แท้ มีอยู่แต่ในงาน”


การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ลำพังเพียงแค่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่นๆมาอุดหนุนเกื้อกูลจึงจะประสบผลสำเร็จ ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3 องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ (1) เวลา (2) เวที และ (3) ไมตรี


องค์ประกอบแรกที่จะขอพูดถึงก็คือเรื่องของ “เวลา” พูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนรู้ก็ไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก ในหลายๆที่เรามักจะพบเห็นคนที่มีงานหรือที่ทำตัวให้ยุ่งอยู่ตลอดทั้งวันจนดูเหมือนว่าไม่มีเวลาสำหรับใช้วิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหาหรือสรุปบทเรียนใดๆเลย ทั้งๆที่ในปัจจุบันนี้เราก็มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีไปอย่างมากมาย ชีวิตน่าจะสะดวกสบายและมีเวลามากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าคนเรามีกลับมีเวลาว่างน้อยลง ความเจริญทางด้านต่างๆมีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง ในบางจังหวัดบางพื้นที่มีการจัดระบบชลประทานที่ดีทำให้ชาวนามีน้ำเพียงพอที่จะทำนาได้ปีละกว่า 3 ครั้ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นว่า ชาวนาไม่ได้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ พวกเขากลับมีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลง สุขภาพเสื่อมโทรมเพราะทำงานหนักขึ้น สัมผัสกับสารเคมีมากขึ้น มีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เวลาคือปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้ องค์กร ชุมชน หรือครอบครัวใดที่คนมัวแต่ยุ่งอยู่ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “โงหัวไม่ขึ้น” จะทำให้หมดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และไม่มีเวลาสำหรับใช้คิดสร้างสรรค์ได้เลย สภาพเช่นเดียวกันนี้ก็เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของสถาบันที่เป็นผู้นำเรื่องการเรียนรู้เช่นกัน นักศึกษาปริญญาโทส่วนใหญ่ต้องทำงานไปและเรียนไปด้วยควบคู่กัน หลายคนไม่เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะเข้าชั้นเรียน หรือไม่มีเวลาสำหรับ “ย่อย” สิ่งที่ได้รับฟังหรืออ่านมา บางคนก็ไม่มีเวลาที่จะร่วมทำงานกลุ่ม หรือวิเคราะห์กรณีศึกษาที่อาจารย์มอบหมายให้ ถึงแม้ตัวอาจารย์เองก็เช่นกันหลายคนยุ่งอยู่กับงานสอนทั้งที่เป็นโครงการปกติและโครงการพิเศษต่างๆ จนไม่มีเวลาว่างพอที่จะไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติม หรือให้เวลาในการพบปะพูดคุยกับนักศึกษานอกชั้นเรียนได้เลย จากตัวอย่างทั้งหมดที่นี้คงจะเห็นแล้วว่า เวลามีความสำคัญต่อการเรียนรู้เพียงใด นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “เวลา”


นอกเหนือจากเรื่องเวลาแล้ว องค์ประกอบตัวต่อไปที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ก็คือ จะต้องจัดให้มี พื้นที่ หรือเวที ไว้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เวทีการเรียนรู้นี้ ถ้าจะให้ดีควรมีรูปแบบที่หลากหลาย คือ มีทั้งเวทีที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ อาทิเช่นการจัดประชุมรูปแบบต่างๆ และเวทีในรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก คืออาจจัดในลักษณะที่เป็นการรวมตัวของคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน หรือทำงานด้านเดียวกัน เป็นการจับกันแบบ “หลวมๆ” คือให้เป็นไปตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ในภาษาอังกฤษเรียกการ “ชุมนุม” ของคนกลุ่มต่างๆนี้ว่า Community of Practices หรือเรียกสั้นๆว่า “CoPs” ตามจริงแล้ว การสร้าง CoPs ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่นั้น สิ่งที่สำคัญก็คือจะต้องพยายามสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นให้มากที่สุด การที่ CoPs ประกอบด้วยคนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์หลากหลายจะทำให้ได้มุมมองที่ค่อนข้างเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายนี้ด้วย โดยที่ทุกคนจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ใช่ไปกันคนละทิศคนละทาง กำหนดเป็นหลักการได้ว่า “ความคิดเห็นจำเป็นต้องหลากหลาย แต่เป้าหมายจะต้องเป็นหนึ่งเดียว” ความคิดเห็นที่หลากหลายนี้จะเป็นหัวเชื้อสำคัญที่ทำให้เกิดพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญก็คือ คนที่มารวมตัวกันนี้จะต้องรู้สึกอิสระและปลอดภัย ความเป็นอิสระ และความรู้สึกปลอดภัย จะทำให้คนเชื่อใจกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน ทำให้พร้อมที่จะแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน


เวทีดังกล่าวนี้เป็นได้ทั้งพื้นที่ทางกายภาพ (physical space) ที่คนสามารถเข้ามาพบปะ พูดคุย ประชุมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เสมือน (virtual space) ที่สร้างขึ้นมาโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet) ก็ได้ อาทิเช่น การใช้ e-mail loop, web board หรือ web blog จริงๆแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (Information & Communication Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ICT” นั้นเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทรงพลังอย่างยิ่งในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มการใช้ internet/ search engine และการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ICT นั้นอาจช่วยได้ในเรื่อง “to know” หรือ “การรู้” แต่อาจจะไม่สามารถช่วยเรื่อง “to learn” หรือ “การเรียนรู้” ได้มากนักเพราะเรื่องการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยคน เป็นกระบวนการที่ต้องผ่านคนเป็นหลัก คนหลายคนยังสับสนแยกไม่ออกระหว่างสิ่งที่เราเรียกว่า “รู้” ซึ่งก็คือ “ to know” กับการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ “to learn” การรู้กับการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน การรู้ หรือ to know เป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์เดิม คือเป็นการมองแบบ supply–side มองเห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการให้รู้ จึง supply ให้ ในขณะที่การเรียนรู้หรือ to learn นั้นเป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่ ภายใต้มุมมองแบบ demand–side เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการที่ได้ “ทำจริง” เป็นการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ (learning by doing) เมื่อได้ทำ ก็ทำให้ได้ รู้จริง หรือเมื่อทำไปเรื่อยๆก็อาจจะ รู้แจ้ง ได้ ไปในที่สุด จุดแข็งของ ICT นั้นอยู่ตรงที่สามารถสร้างเครือข่ายที่กว้างไกลและสามารถขยายไปได้อย่างรวดเร็ว การสร้างเวทีเสมือนบนเครือข่าย ICT จึงเป็นเวทีที่ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว ทำให้สามารถขยาย การรู้ หรือ to know นี้ออกไปได้อย่างกว้างขวาง โจทย์ที่เหลืออยู่ก็คือ จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ที่ได้รู้เหล่านี้เดินต่อไปจนถึงขั้นที่จะลองนำมาปฏิบัติ เพื่อจะได้เกิดความชัดเจนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริงต่อไป ขอย้ำอีกครั้งว่า ICT นั้นเป็น “เครื่องมือ” ที่ทรงพลังในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ ICT มิใช่ “เป้าหมาย” ICT มิได้เป็นตัวนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างที่หลายคนเข้าใจ


ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สามที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ นอกเหนือจากที่ต้องมี เวลา มีพื้นที่หรือเวทีให้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ไมตรี คือต้อง มีใจ ให้แก่กันและกันด้วย ท่านลองหลับตานึกดูก็แล้วกันว่า ถ้ามีเวลาให้ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้พบปะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันแล้ว หากแต่ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีใจที่ปิดกั้น คับแคบ เต็มไปด้วยอัตตา (ego) มีอคติ (bias) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จึงจำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกว้าง ต้องเป็น “ใจที่ว่าง” ว่างพอที่จะพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสภาวะ “น้ำชาล้นถ้วย” คือไม่สามารถรับอะไรใหม่ลงไปได้อีกเลย นอกจากนั้นใจที่ว่างยังหมายถึงการที่ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆ จะต้องพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะ “ลอกทิ้ง” สิ่งเก่าๆ คือมีทักษะที่จะ “unlearn” ได้ด้วย ใจที่ปล่อยวาง จะเป็นใจที่ไม่อคติ จะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัจจุบันขณะ เห็นทุกอย่างในลักษณะที่ “ใหม่หมด สดเสมอ” เพราะเป็นการเห็นด้วยความระลึกรู้ด้วยความรู้ตัวว่าสิ่งที่กำลังเห็นนั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่ซ้ำกับสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วในอดีต เป็นความรู้สึกที่ตื่น ชื่นบาน ต้องการแบ่งปัน และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา


การศึกษาที่แท้นั้น จะไม่มองผู้เรียนเปรียบดั่งเป็นถังน้ำ และมองบทบาทของครูผู้สอนว่าเป็นผู้ที่มีหน้าที่เติมน้ำให้เต็มถัง ซึ่งก็จะเป็นการมองแบบ supply–side หากแต่ต้องมองว่าหน้าที่ของครูอาจารย์นั้นจริงๆแล้วก็คือผู้ที่จุดไฟแห่งความใฝ่รู้ให้กับผู้ที่เป็นศิษย์ ทำให้ศิษย์เกิดฉันทะมีความต้องการที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนอย่างไม่จบสิ้น เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ไม่ว่าพ่อครัวจะเก่งกาจในฝีมือปรุงอาหารสักเพียงใด หากผู้ที่รับประทานไม่หิวแล้ว อาหารมือนั้นก็คงจะไม่มีความหมายอะไรมากนัก” ดังนั้นโจทย์ที่สำคัญในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้น่าจะอยู่ตรงที่ว่า เราจะต้องทำอย่างไรให้คนหิวกระหายและใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การสร้างฉันทะ สร้างความต้องการที่จะพัฒนางาน พัฒนาชีวิตให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เท่ากับเป็นการสร้างdemand สร้างแรงดึง (pull) อันนำไปสู่การเรียนรู้ชนิดที่แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกับชีวิต สิ่งที่สำคัญก็คือเราจะต้องรู้จัก “บริหารความว่าง” คือต้องไม่ลืมที่จะจัดเวลา หาเวลาว่าง เตรียมพื้นที่ หาที่ว่าง ไว้สำหรับใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญคือจะต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาใจให้รู้จักการปล่อยวาง และว่างพอที่จะรู้สึกและเข้าใจในคุณค่าของสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราอยู่ในขณะนี้

อ้างอิง :

ประพนธ์ ผาสุขยืด. นวัตกรรมการเรียนรู้. [ออนไลน์], [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก: www.vet.cmu.ac.th/KM/document/LearnInnovation.doc. [25 มีนาคม 2554]

Explicit Knowledge & Tacit Knowledge.

Explicit Knowledge & Tacit Knowledge.


สิ่งที่แตกต่างระหว่างความรู้สองประเภท
ในเชิงปฏิบัติการที่มักจะมีการแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้:
ความรู้ประเภทแรก : เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่อยู่ในตํารับตํารา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฏีทั้งหลาย อันได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ผ่านกระบวนการวิจัย เรามักเรียกกันทั่วๆ ไปว่าเป็น “ความรู้ชัดแจ้ง” หรือ “Explicit Knowledge”
ความรู้ประเภทสอง : เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติ บ้างก็จัดว่าเป็น “เคล็ดวิชา” เป็น “ภูมิปัญญา” เป็นสิ่งที่มาจากการใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน ถึงแม้ความรู้ประเภทที่สองนี้จะเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนความรู้ประเภทแรก แต่ก็เป็นสิ่งสําคัญที่ทำให้งานบรรลุผลสําเร็จได้เช่นกัน


ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างความรู้ 2 ประเภทนี้
Explicit Knowledge Tacit Knowledge
• วิชาการ หลักวิชา • ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา
• ทฤษฏี(Theory) ปริยัติ • ปฏิบัติ(Practice) ประสบการณ์
• มาจากการสังเคราะห์ วิจัยใช้สมอง (Intellectual) • มาจากวิจารณญาณใช้ปฏิภาณ (Intelligence)
• เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์ • เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน




ผลการวิจัยในต่างประเทศเคยสรุปสัดส่วนของความรู้สองประเภทนี้ว่า ความรู้ที่เป็นหลักวิชาที่ต้องผ่านการพิสูจน์ หรือเขียนออกมาเป็นทฤษฏีนั้นถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน หากเปรียบกับภูเขานํ้าแข็ง (ตามรูป) ความรู้ส่วนที่เป็น Explicit Knowledge นั้นจะเห็นได้ง่าย คล้ายกับส่วนยอดของภูเขานํ้าแข็งที่อยู่พ้นนํ้า แต่ความรู้ส่วนที่เป็น Tacit Knowledge นั้นแฝงอยู่ในตัวคน ทำให้มองไม่เห็น เปรียบได้กับส่วนของภูเขานํ้าแข็งที่จมใต้นํ้า ซึ่งถ้านํามาเทียบกันแล้ว จะพบว่ามีปริมาณมากกว่าส่วนที่พ้นนํ้าค่อนข้างมาก
การที่เราเข้าใจความแตกต่างระหว่างความรู้ทั้งสองประเภทนี้ จะทำให้เราเข้าใจความหมายของคําว่า “จัดการ” ได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น คุณลักษณะของความรู้สองประเภทนี้แตกต่างกันค่อนข้างจะมาก จะเห็นได้ว่า “ความรู้แจ้ง (Explicit knowledge)” นั้นเป็นความรู้ที่ได้มาจากการทดลอง ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เป็นความรู้ที่ผ่านการพิสูจน์ (Proven Knowledge) เป็นความรู้ที่ถูกทําให้กลายเป็นเรื่อง ”ทั่วไป (Generalize)” ไม่ติดอยู่ในบริบทใดบริบทหนึ่ง ในขณะที่ “ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)” นั้นมีคุณลักษณะที่เรียกได้ว่าค่อนข้างจะตรงกันข้าม คือมีลักษณะเป็น “เคล็ดวิชา” เป็นสิ่งที่ได้มา “สดๆ” มีบริบท (Context) ติดอยู่ ยังไม่ได้ถูก “Generalize” ยังไม่ได้ “ถูกปรุง” แต่อย่างใด

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้จากบทความ

331-332
การยกระดับลูกค้าในองค์กร และการยกระดับภาพลักษณ์ในองค์กร Alcoa ได้มองเห็นการเพิ่มขึ้นของการขาย เพราะลูกค้ามีผลต่อการตลาด และเพื่อทำให้เกิดความตรงตามเป้าหมายของตลาดรถยนต์ และในเวลาเดียวกัน Audi ได้มองเห็นหนทางในการขยายตัวในตลาดยุโรป มีสองตัวแทนที่จะทำธุรกิจเหมือนกับ Alcoa ในตลาดยุโรปวิศวกรที่มีชื่อเสียงมีอิทธิพลเป็นอย่างมากและในทางกฏหมายของประเทศเยอรมัน มีความต้องการในเรื่องการนำรถมารีไซเคิลใหม่
ในยุโรปมีการโฆษณาเกี่ยวกับตลาดสีเขียว และมีการสร้างภาพลักษณ์ของรถยนต์ให้ไปด้วยกันกับตลาดสีเขียว
มีการค้นพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำให้รถยนต์ที่ทำจะอลูมิเนียมทั้งหมดใน 9 ปี ทำให้วิศวกรใน Audi และ Alcoa ได้เสนอรายชื่อสินค้าตัวแรกในรถอลูมิเนียมทั้งหมด เมื่อรถรุ่นใหม่ได้มีการเสนอชื่อต่อที่ชุมนุม Audi ได้ประสบผลสำเร็จทางกำไรที่มีความสำคัญจากการยกระดับขอผลิตภัณฑ์ และ Alcoa ได้บรรลุหลักการอลูมิเนียมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากวิศวกรรมชิ้นใหม่ล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตรถยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม
Alcoa ได้ค้นพบผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมที่เหมาะสมเพียงพอเพื่อช่วย การเชื่อมต่อการเสียดสีระหว่างผลิตภัณฑ์ขึ้น ด้วยเครื่องจักรกล และกระบวนการในส่วนต่างๆ
Audi มีความต้องการในการยกระดับ Alcoa ในการสร้างและประยุกต์วิศวกรรมเพราะจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง บริษัทจะประสบผลสำเร็จในการยกระดับความสามารถที่ดี ต่อการยกระดับขององค์กรเหมือนกัน
การยกระดับของบริษัทหรือองคืกรเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของ Alcoa เพื่อก้าวสู่การขยายธุรกิจของ Alcoa หรือ ABS ซึ่งหลักการของ ABS จัดทำขึ้นเพื่อขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปในระบบ ซึ่งจะทำให้เกิดความก้าวหน้าตั้งแต่ขั้นตอนในการแนะนำในปี 1990
ความต้องการที่ชัดเจนที่เกี่ยวกับลูกค้า คือรูปแบบการจัดการวิศวกรรมในการพัฒนาความรู้ การถ่ายโอนระหว่างลูกค้าและพนักงาน
ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นในทางบวก ที่เราสามารถสัมผัสได้ ทั้งด้านการเงิน และการจัดหาตัวอย่างของระบบ ABS จะทำให้ เกิดความสม่ำเสมอ เกิดอำนาจในการตัดสินใจปฏิบัติอย่างเป็นโครงสร้าง การสื่อสารระหว่างตัวบุคคลในการนัดหมายซ่งกันและกัน
เนื่องจากการขายเกิดการชะลอตัวลง 10 % จากผลกำไรสุทธิที่ตกต่ำลงในปี 2002 บริษัทได้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงของราคาที่ลดลง เพื่อทำให้เกิดผลผลิตที่มีมูลค่าสูงขึ้น และสร้างความมั่นคงในการเชื่อมต่อกับลูกค้า ติดต่อกับลูกค้าซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อพนักงานของบริษัท
ในกรณีอื่นๆ ระบบ Cisco ได้ใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในการยกระดับระบบในการช่วยบรรเทาปัญหาคอคอดขวด หลังจากการใช้ระบบชุดวอฟต์แวร์ บริษัทได้มีความต้องการในการสนับสนุนเรื่องนี้
ระบบ Cisco เป็นระบบที่เข้มแข็ง มีความตรงและมีการเปิดเผยในเว็ปไซต์ มีการอธิบายไว้ว่าระบบนี้จัดทำขึ้นเพื่อ ส่งเสริมความเป็นไปได้เกี่ยวกับการออนไลน์ เมื่อลูกค้ามีความต้องการที่แน่นอน ในวันธรรมดาจะเกิดปัญหาเหล่านี้ คือวิศวกรจะเริ่มทำงานหนักฟรีๆเมื่อการยกระดับเกิดขึ้นจะเกิดผลสำเร็จที่ตามมา
ซึ่งในการเปิดเผยของหัวหน้า ระบบ Cisco ว่า การช่วยทำให้เกิดการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น
ลูกค้าของ Cisco ไม่ได้เข้าถึงข้อมูลทางเว็ปไซต์ แต่พวกเขาได้เริ่มการแลกเปลี่ยนแชรืประสบการณ์กันกับบริษัทและในตัวของลูกค้าเอง
และในขณะนี้ โฮมเพจของบริษัทมีlink ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับกรณีศึกษา และวิธีการแก้ไขปัญหาการทำงานบนเครือข่าย
ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาคอคอดขวด ของบริษัท Cisco นั้น เป็นการแสดงออกที่ดี ในการสร้างความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมใหม่ๆ และการขับเคลื่อนการยกระดับต่างๆ
ความภัคดีของผู้บริโภคสามารถพลักดันพนักงานให้เกิดการเพิ่มคุณค่าให้กับบริษัท
เนื่องจากการกระตุ้นให้ลุกค้าเกิดความภัคดีต่อองค์กรในการเป้นส่วนร่วมในวางแผนพัฒนาสินค้าและบริการ เมื่อลูกค้าได้เป็นหุ้นส่วนหรือมีความเข้าใจผลกำไรจากการพัฒนาคุณค่าด้านการตลาดแล้ว นอกจากนั้นจะทำให้ลูกค้านั้นอยู่กับเราไปนานๆ จะทำหลูกค้ารู้สึกมั่นใจเมื่อได้เป็นหุ้นส่วนในองค์กร
ความภัคดีของผู้บริโภคและพนักงานกับการสร้างรายได้ จะเกิดจากการสร้างสินค้าใหม่และนำมานำเสนอ โดยลูกค้าสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดผลสำเร็จทางด้านการฟังตรงประเด็นของพนักงาน
สิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจใน ส่วนย่อยของกระบวนการมีความสำคัญต่อการเลือกลูกค้าและลูกจ้างที่มีความจงรักภัคดี จะเป็นสิ่งทำจะกำลังแสดงให้เห็น
การร่วมมือเกี่ยวกับราคา จะทำด้วยการได้มาของลูกค้า การรักษาไว้ การละทิ้งและ สิ่งสำคัญคือการเข้ามามีหุ้นส่วนและการต่อต้านสิ่งต่างๆที่ไม่มีความมุ่งหมาย สิ่งที่ไม่มีประโยชน์จะอยู่รอบๆตัวเราตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้คนที่ไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน จะต้องจากไป
การเข้ากับลูกค้า จะต้องมีความคิดในการร่วมมือในการส่งเสริมข้อโต้แย้งต่างๆด้วยการโพสต์ลงในเน็ต และจะเป็นช่องทางให้ลุกค้าได้พบปะกัน
ในบริษัทอื่นๆ มีความมั่นใจที่จะเสี่ยงกับลูกค้าหลายๆประเภท ในโครงการ ให้เช่ารถ เนื่องจากความถี่ของนักท่องเที่ยวตามที่ต่างๆมีมาก การให้เช่ารถอาจเกิดผลเสียหายได้ เพราะวงจรความต้องการเช่ารถมีสั้น
ในการขยายการจะเป็นระบบบริหารงานราคาด้วยธุรกิจบัญชีจึงเป็นระบบที่มีความต้องการ